วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อาณาจักรโยนกเชียงแสน


เมืองนาคพันธุสิงหนวัตินคร ภายหลังเรียกสั้น ๆ ว่า นาเคนทร์นคร, นาคบุรี, โยนกนาคนคร ,โยนกนาคพันธุ์ แลโยนกนครหลวง
   
 ศูนย์กลาง : อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ความเป็นมา: เป็นอาณาจักรแรกของไทยบนพื้นแผ่นดินไทย เป็นของพวกไทยวน -เจ้าชายสิงหนวัติกุมารมาสร้างเมืองโยนกนครราชธานีศรีช้างแสน ต่อมาคือ เชียงแสน ต่อมาพวกขอมยึดอาณาจักรได้   ต่อมาพระเจ้าพรหมกุมาร กู้เอกราช แล้วสร้างเมืองใหม่ที่เมืองเวียงไชยปราการ   
การสถาปนา:  พญาสิงหนวัติได้สถาปนาเมืองโยนกนาคพันธุสิงหนวัตินครขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง ดินแดนที่ราบในเมืองเชียงราย ในพ.ศ. 1117โดยทำการแย่งชิงดินแดนมาจากพวกที่มีอิทธิพลอยู่ก่อนคือ พวกขอมดำหรือกล๋อม ที่พากันหนีไปตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้บริเวณถ้ำอุโมงเสลานคร พญาสิงหนวัติ ทรงรวบรวมพวกมิลักขุหรือคนป่าคนดอยเข้ามาอยู่ในอำนาจของเมืองโยนกนาคนคร มีอาณาเขตทิศเหนือจดเมืองน่าน ทิศใต้จดปากน้ำโพ ทิศตะวันออกจดแม่น้ำดำในตังเกี๋ย ทิศตะวันตกจดแม่น้ำสาละวิน มีเมืองสำคัญ คือเมืองเวียงไชยปราการอยู่บริเวณแม่น้ำฝางและแม่น้ำกก ดินแดนทางใต้สุดคือที่เมืองกำแพงเพชร อาณาจักรโยนกนาคนครนี้มีพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ เช่นพระเจ้าพีคราช พระเจ้าพรหม พระเจ้าไชยสิริ ต่อมาประมาณ พ.ศ. 1552อาณาจักรโยนก

มีความเจริญรุ่งเรือง: พุทธศตวรรษ 12-19

ศิลปะแบบโยนก-เชียงแสนสมัยเชียงแสน (พุทธศตวรรษที่ 17 - 24)
เรียกตามชื่อเมืองโยนกเชียงแสนซึ่งปรากฏรากเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงท้องที่อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน เมืองดังกล่าวนี้ เคยเป็นราชธานีและเมืองสำคัญของไทยในสมัยแรกที่ตั้งมั่นขึ้นในสุวรรณภูมิตามความเป็นจริงแล้วคนไทยที่มาตั้งมั่นอยู่ในแถบนี้ได้โยกย้ายบ้านเมืองและสร้างราชธานีหลายหนเพราะเหตุที่มีอุทกภัยน้ำในแม่น้ำโขงไหลบ่าขึ้นมาท่วมบ้านเมืองเสียหายบ่อยๆคำว่าโยนกเชียงแสนที่กล่าวในที่นี้จึงกล่าวเพื่อความสะดวกในการกำหนดเรียกชื่อศิลปกรรมแบบที่สร้างในระยะที่โยนก
( เมืองสมัยก่อนเชียงรายราวพ.ศ.1300-1600)และเชียงแสนเป็นราชธานี(พ.ศ.16001800)ตลอดจนมาถึงเชียงใหม่เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาในชั้นหลังด้วยซึ่งศิลปกรรมลักษณะนี้ปรากฏแพร่หลายอยู่ในจังหวัดต่างๆทางภาคเหนือของประเทศไทยตำราทางศิลปะส่วนใหญ่จะเรียกศิลปกรรมแบบนี้ว่า "เชียงแสน"เท่านั้นแต่เนื่องด้วยศิลปกรรมที่สร้างนสมัยโยนกมีการบูรณะซ่อมกันมาตลอดในสมัยเชียงแสน ลัทธิศษสนาสมัยต้นที่ไทยเข้ามาครอบครองแคว้นนี้
ได้แก่พระพุทธศาสนามหายานนิกายต่าง ๆ ระยะ พ.ศ. 1300-1600 พุทธศษสนามหายานรุ่งเรืองมากทั่วอินเดีย และแพร่ไปยังธิเบตเนปาล จีน ญี่ปุ่น ขอม และชวา ศิลปะแบบอินเดียใต้ก็เข้ามาด้วย ทำให้ศิลปะแบบโยนก-เชียงแสน ได้รับอิทธิพลคลุกเคล้าจนปรากฏแบบอย่างขึ้นมากมายซึ่งอาจจำแนกอย่างหยาบ ๆ ตามอิทธิพลที่ได้รับเป็น 5 แบบ คือ
1. แบบโยนก เชียงแสน อิทธิพลสกุลศิลปปาละวะ ดีในลานนา
2. แบบโยนก-เชียงแสน อิทธพลสกุลศิลปปาละ-เสนา
3. แบบโยนก-เชียงแสน สกุลอินเดียใต้
4. แบบโยนกเชียงแสนอิทธิพลศิลปแบบทวาราวดี
5. แบบเชียงแสนแท้

พระพุทธรูป

ศิลปะเชียงแสน คือศิลปะสกุลช่างภาคเหนือในปัจจุบัน  ได้เกิดมีทฤษฎีใหม่
โต้แย้งทฤษฎีเดิมที่แบ่งศิลปะเชียงแสนเป็น รุ่น คือรุ่นแรกประมาณพุทธศตวรรษที่
17 -21 และยุคหลังประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 - 24 ทฤษฎีใหม่ถือว่าศิลปะเชียงแสน
คือ ศิลปของอาณาจักรล้านนาไทยและเชื่อว่าก่อนสร้างนครเชียงใหม่ ปฏิมากร
เชียงแสนแบ่งได้เป็น 2 รุ่น คือ   รุ่นแรกพระพุทธรูปมีลักษณะทรวดทรงงามสง่า
พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระนาสิกงุ้มนิยม ทำนั่งขัดสมาธิเพชรพระศกกระหมวดเป็น
ก้นหอยพระเมาลีเป็นรูปดอกบัวตูมสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน




รุ่นหลัง พระพุทธรูปมีลักษณะของ ศิลปะสุโขทัยผสมหลังจากพุทธศตวรรษที่
 20 ไปแล้ว ลักษณะของพระพุทธรูปนั่งขัด สมาธิราบ สังฆาฏิยาว พระพักตร์ยาวรี
ยอดพระเมาลีเป็นเปลว พระวรกายไม่อวบอ้วน

เครื่องปั้นดินเผาในยุคเชียงแสน  
การเสียกรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112 ไม่ได้หมายถึงการทำลายกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น
ตามหัวเมืองต่าง     ได้รับความกระทบกระเทือนด้วยเช่นกัน  จึงเป็นผลทำให้
อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาของสุโขทัยสลายตัวไปด้วยในราวปีพ.ศ.2143ได้มีการ
สร้างเตาเผาผลิตภัณฑ์ที่สิงห์บุรีผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณภาพต่ำกว่าสุโขทัยเนื้อดิน
หยาบมีทั้งเคลือบและไม่เคลือบผลิตภัณฑ์เตาสิงห์บุรีผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองประโยชน์
ใช้สอยบางอย่างเท่านั้นส่วนในราชสำนักอยุธยาได้สั่งซื้อเครื่องปั้น ดินเผาจากจีน
และญี่ปุ่นเข้ามาใช้แทน เซอร์ จอห์น บาวริง(Sir John Bowring) ได้บันทึกไว้ว่าหลังจากการ
เสียกรุงครั้งที่ 2 การทำเครื่องปั้นแบบนี้ยังคงปรากฎอยู่และทำติดต่อกันมานานจนกระทั่ง
ปัจจุบันเริ่มหมดไป




ความเจริญ ความเสื่อมอำนาจ: เกิดแผ่นดินไหว อาราจักรถล่มจมลงในกลายเป็นหนองน้ำ เป็นการสิ้นสุดอาณาจักร จนกระทั่ง พุทธศตวรรษที่ 19 ถูกผนวกเข้ากับล้านนา

ตำนานเวียงล่ม
อาณาจักรโยนกเชียงแสน มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาจนสมัยพระองค์มหาไชยชนะ อาณาจักรจึงได้ถึงกาลล่มจม ดังปรากฏในตำนานสิงหนวัติที่กล่าวว่า ได้มีชาวเมืองไปได้ปลาไหลเผือก มหากษัตริย์ พระองค์จึงให้ตัดเป็นท่อนแจกกันกินทั่วทั้งเวียง และในคืนนั้นก็ได้เกิดมีเหตุเสียงดังสนั่นเหมือนกับแผ่นดินไหว ถึงสามครั้ง จนเป็นเหตุให้เมืองโยนกถล่มกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ แต่ก็เป็นน่าอัศจรรย์ที่ยังคงเหลือบ้านของหญิงหม้ายคนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้รับส่วนแบ่งเนื้อปลานั้นจากชาวเมืองไปบริโภค ในปัจจุบันหนองน้ำดังกล่าวจึงได้มีผู้สันนิษฐานไปต่าง ๆ กัน บ้างก็สันนิษฐานว่าคือทะเลสาบเชียงแสน (หนองบงกาย) ในเขตอำเภอเชียงแสน บ้างก็ว่าคือเวียงหนองล่ม (เวียงหนองหรือเมืองหนองก็ว่า) ในเขตอำเภอแม่จัน เนื่องจากมีชื่อสถานที่ต่าง ๆ ได้ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้อยู่ใกล้เคียงบริเวณนั้น เช่น บ้านแม่ลาก ก็หมายถึงตอนที่ชาวเมืองได้ช่วยกันลากปลาไหลตัวนั้น บ้านแม่ลัว (คงเลือนมาจากคำว่าคัว) ก็หมายถึงตอนที่ได้ชำแหละปลาไหลนั้นเพื่อแจกจ่ายกัน แม่น้ำกก หมายถึงตัดเป็นชิ้น ๆ ซึ่งชื่อดังกล่าวนี้ปัจจุบันมีอยู่ในท้องที่ของอำเภอท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน และยังมีผู้สันนิษฐานว่าคือหนองหลวง ในเขตอำเภอเวียงชัยอีกด้วย


ทะเลสาบเชียงแสนในปัจจุบัน



เกาะกลางน้ำของรูปนี้ สันนิษฐานว่าเป็นบริเวณบ้านของแม่ม่ายที่ไม่ถูกน้ำท่วมและจ่มลง ซึ่งในปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่ เป็นความมหัศจรรย์ที่เป็นตำนานเล่าขานสืบต่อกันมากว่า       1, 000 ปี


รายนามกษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน 46พระองค์
(จากพงศาวดารโยนก ของพระยาประชากิจกรจักร)
1. สิงหนกุมาร
2. คันธกุมาร
3. อชุตราช
4. มังรายนราช
5. พระองค์เชือง
6. พระองค์ชืน
7. พระองค์ดำ
8. พระองค์เกิง
9. พระองค์ชาติ
10. พระองค์เวา
11. พระองค์แวน
12. พระองค์แก้ว
13. พระองค์เงิน
14. พระองค์ตน
15. พระองค์งาม
16. พระองค์ลือ
17. พระองค์รวย
18. พระองค์เชิง
19. พระองค์กัง
20. พระองค์เกา
21. พระองค์พิง
22. พระองค์ศรี
23. พระองค์สม
24. พระองค์สวรรย์ (สวน)
25. พระองค์แพง
26. พระองค์พวน
27. พระองค์จักทร์
28. พระองค์ฟู
29. พระองค์ผัน
30. พระองค์วัง
31. พระมังสิงห์
32. พระมังแสน
33. พระมังสม
34. พระองค์ทิพ
35. พระองค์กอง
36. พระองค์กม (กลม)
37. พระองค์ชาย (จาย)
38. พระองค์ชิน (จิน)
39. พระองค์ชม (จม)
40. พระองค์กัง (ปัง)
41. พระองค์กิง (พึง)
42. พระองค์เกียง (เปียง)
43. พระองค์พัง (พังคราช)
44. ทุกชิต
45. มหาวัน
46. มหาไชยชนะ